Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » เกมสมดุล...ชีวิตสมดุล
พ.ย.6

เกมสมดุล...ชีวิตสมดุล

เกมสมดุล...ชีวิตสมดุล

 

 

 

 

 

 

เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการทำแบบทดสอบกันเลยดีกว่าค่ะ

 

ซึ่งการทำแบบทดสอบก็ง่าย และสะดวกมาๆ ผู้ใช้สามารถทำและแปลผลได้ทันทีว่าคุณ "ติดเกม" หรือ โดยไม่ต้องลำบากออกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเลย
 
 แบบทดสอบการติดเกม
 
คุณสมบัติของแบบทดสอบก็ตามชื่อเลยนะคะ คือเป็นแบบทดสอบที่เมื่อคุณลองทำแล้ว จะสามารถบอกได้เลยว่า คุณ "ติดเกม" หรือไม่  
แบบทดสอบติดเกมจะแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ คือ
1. ฉบับเด็ก  ทำเองรู้เอง
2. ฉบับผู้ปกำครอง  ผู้ปกครองทำการประเมินพฤติกรรมการเล่นเกมของลูก
 
 
เด็ก คลิ๊กที่นี่
 
 
 
ผู้ปกครอง คลิ๊กที่นี่
 
 
วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ ค่ะ ถ้าใครที่ยังไม่ได้สมัครสมาชิก ก่อนจะตอบคำถามคุณต้องระบุก่อนว่าตัวเองเป็นเพศอะไร (โปรดระบุตามจริง เพราะมีผลต่อการแปลผลนะคะ) ส่วนใครที่สมัครสมาชิกแล้ว log in เข้าไปทำ ระบบก็จะแปลผลจากข้อมูลที่คุณกรอกไว้ได้เลย ดังนั้น ใครที่สมัครสมาชิกเข้ามา โปรดกรอกเพศของคุณตามจริงนะคะ ไม่อย่างนั้นผลอาจจะผิดเพี้ยนได้ 
 
เมื่อคุณประเมินเสร็จแล้ว กด submit รอสักครู่ ระบบจะประมวลผลและบอกคุณได้เลยว่า คุณได้คะแนนเท่าไหร่ และมีระดับการติดเกมอยู่ในระดับไหน 
 
 
ผลการทดสอบจะแบ่งเป็น 3 ระดับค่ะ คือ ไม่ติด เกือบติด และ ติดเกม พร้อมทั้งคำแนะนำในปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบคร่าวๆ ข้อมูลเหล่านี้ รีดเค้น เอ้ย ผ่านการวิเคราะห์ตกผลึกมาจากทีมงาน ซึ่งเป็นทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากโรงพยาบาลศิริราชค่ะ
 
แน่นอนว่า พื้นที่มันมีน้อย และเขียนยาวๆ อาจจะขี้เกียจอ่านกัน คำแนะนำที่แนบมาจึงเป็นคำแนะนำสั้นๆ เพียงแต่ถ้าใครรู้สึกว่า มีคำถาม อยากขอคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถถามได้ตลอดทางเว็บบอร์ดค่ะ
 
 
จุดสำคัญ : เรื่องการฝากคำถามนั้น ให้ลองคิดเหมือนการมาหาหมอ มาขอคำแนะนำจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย แต่กับที่นี่แน่นอนว่า ฟรีนะคะ และเรายินดีให้ความช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่ทำได้ คุณถามมาเราจะตอบให้หมด หรือสำหรับเคสที่คิดว่าปรึกษาออนไลน์คงไม่เพียงพอ เราก็จะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือในการส่งรักษาเข้าตามระบบต่อไปค่ะ
 
 
จบเรื่องแบบทดสอบติดเกมเพียงเท่านี้ แต่ยัง ยังไม่จบ เพราะเรามีอีกแบบทดสอบหนึ่ง (ที่เจ๋งกว่าอีกนะ)
 
 
แบบทดสอบวัดภูมิคุ้มกันการติดเกม
 
ปัญหาสุขภาพกายเราก็มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันได้ เรื่องของสุขภาพใจก็เหมือนกัน ติดเกมมองๆ ให้คล้ายกับเป็นหวัดก็ได้ ถ้าเรามีภูมิคุ้มกันด้านต่างๆ ไม่แข็งแรงเพียงพอ ไวรัสก็อาจเจาะเข้ามาแล้วทำให้เราเกิดอาการติดๆ ขัดๆ ในการใช้ชีวิตได้ 
 
พูดลอยๆ อาจยังไม่เก็ต จะยกตัวอย่างให้เช่น เราวิจัยมาแล้วว่า เด็กที่มีงานอดิเรกทำน้อย (คือว่างไม่รู้จะทำอะไรนั่นแหละ) จะมีโอกาสติดเกมสูงกว่าเด็กที่มีงานอดิเรกอย่างอื่นให้ทำเยอะแยะ เช่น วาดรูป เล่นดนตรี เล่นกีฬา
 
พูดเป็นวิจัยอาจดูมึนๆ มองเป็นคอมมอนเซนส์ก็ได้ค่ะ ส่วนมาก(เอาเป็นส่วนมากละกันนะ) คนเล่นเกมก็เพื่อความสนุกสนานบันเทิง แต่ถ้าเค้ามีตัวเลือกความบันเทิงอยู่แค่อย่างเดียวคือเกม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เค้าก็มักจะใช้เวลาอยู่กับเกมมาก และถ้าเล่นมากๆ ถึงจุดหนึ่งก็ติดเกมได้ (ซึ่งต้องดูปัจจัยอื่นประกอบ นอกเหนือจากเวลาที่เล่นด้วยนะคะ
 
และแบบทดสอบนี้ จะเป็นแบบทดสอบที่วัดได้ว่า คุณมีภูมิคุ้มกันด้านไหนที่แข็งแรง ด้านไหนที่อ่อนแอ สำหรับหน้าตาการประเมินนั้นจะเหมือนกับแบบทดสอบการติดเกมค่ะ แต่หน้าตาแปลผลจะออกมาเป็นดังนี้ 
 
แบบวัดภูมิคุ้มกัน ฉบับเด็ก คลิ๊กที่นี่
 
 
 
แบบวัดภูมิคุ้มกัน ผู้ปกครอง คลิ๊กที่นี่
 
 
 
 
 
การประเมินเราจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ คิดคะแนนรวมแล้วบอกว่าคุณมีระดับภูมิคุ้มกัน สูง หรือ ต่ำ และบอกเป็นแผนภาพดังรูป ว่าภูมิคุ้มกันทั้ง 7 ด้านนั้น คุณมีด้านไหนที่แข็งแรงบ้าง ด้านที่เห็นพื้นที่สีฟ้าเยอะๆ ก็คือภูมิคุ้มกันแข็งแรง  ส่วนด้านที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็อ่อนแอค่ะ สมควรส่งเสริมความแข็งแกร่ง
 
และในด้านไหนที่คะแนนน้อยมากๆ เราจะมีคำแนะนำเป็นพิเศษให้ดังภาพนี้ค่ะ
 
 
และเช่นเคย ใครที่อ่านแล้วรู้สึกว่ามีข้อสงสัย อยากได้คะแนะนำเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปโพสต์ขอปรึกษาในเว็บบอร์ดได้ (วงเว็บนิดว่า ตอนนี้เว็บบอร์ดเรายังจำกัดให้คนที่ใช้ต้องสมัครสมาชิกอยู่นะคะ ยังไงก็สมัครสมาชิกกันได้เด้อ)
 
 
ทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แบบทดสอบเหล่านี้จะมีประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับคนที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชีวิตที่แฮปปี้ยิ่งขึ้นอยู่บ้างนะคะ ใครมีข้อสงสัย สามารถถามได้ตลอดที่ เว็บบอร์ด หรือคนเล่น facebook จะตึ๊งมาที่ fanpage ของเราก็ได้  เรายินดีตอบเสมอ เพราะ Healthygamer....รักคุณเท่าฟ้า (ขอเป็นแอร์สวยๆ อย่างน้อยก็ในเน็ตก็ยังดี)
 
 
ที่มา: 
http://www.healthygamer.net/
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • เกิดอะไรขึ้นเมื่อเด็กได้เป็นเจ้าของ Ipad
  • สลด!! พ่อเกาหลีใต้ติดเกมฆ่าลูกวัย 2 ขวบ
  • พบหมอศิริราช
  • วธ.เผยเด็กไทยติดมือถือ แชมป์เอเชีย
  • การติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนไทย
  • คนกับเกม
  • คำแนะนำ
  • ช่วยเหลือ
  • ติดเกม
  • ป้องกัน
  • ผู้ปกครอง
  • สมดุล
  • เกม
  • เด็ก
  • เด็กติดเกม
  • เว็บไซต์
  • แก้ไข
  • แบบทดสอบ
  • แบบวัดภูมิคุ้มกัน
  • Login to post comments
  • อ่าน 4066 ครั้ง

Comments

#1 ตอนนี้ได้แนะนำผู้ปกครองไปหลาย

Submitted by ครูเทียนพร on Thu, 11/08/2012 - 16:22.

ตอนนี้ได้แนะนำผู้ปกครองไปหลายรายแล้วค่ะ ผู้ปกครองดีใจมาก

  • Login to post comments
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
42,124
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,718
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,320
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,149
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
14,903
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
13,169
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)