Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » "คุมเข้มเด็กเล่นเกม : ริดลอนสิทธิ หรือช่วยสร้างสรรค์"
ก.พ.27

"คุมเข้มเด็กเล่นเกม : ริดลอนสิทธิ หรือช่วยสร้างสรรค์"

"คุมเข้มเด็กเล่นเกม : ริดลอนสิทธิ หรือช่วยสร้างสรรค์"

 

 

 

 

 

โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติก็มีความจริงบางประการที่สำคัญ 
และจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะได้ร่วมตระหนักในความจริงเหล่านี้ร่วมกัน นั่นก็คือ ปัจจุบัน 
ปัญหาเด็กไทยที่เข้าข่ายเป็นโรคติดเกมนี้สูงถึง 10 - 15 เปอร์เซ็นต์แล้ว 
และต้นตอที่สำคัญก็คือ ผู้ใหญ่ ทั้งภาคธุรกิจที่มองเด็กเป็นเหยื่อ 
และสถาบันครอบครัวที่ขาดเวลาในการดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด 
หรือไม่เข้าใจกระทั่งว่าการปล่อยให้ลูกเล่นเกมจนติดนั้น จะส่งผลเสียอย่างไรต่อพัฒนาการของเด็ก ๆ
       
      
 "จากการลงพื้นที่ในชนบทของทีมงาน พ่อแม่ในชนบทยังมีความเชื่อว่า 
การปล่อยลูกอยู่ในร้านเกมนั้นปลอดภัย แค่ 15 บาทอยู่ได้ตั้ง 1 ชั่วโมง ดีกว่าปล่อยลูกวิ่งเล่นไปทั่ว" 
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์กล่าว
 
 
ด้านนายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น 
การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง กรณีเด็กไทยกับไอที 
เผยในเวทีดังกล่าวด้วยเช่นกันว่า "เราพบข้อมูลของการเสพติด ไม่ว่าจะเป็นเกม 
หรือการใช้ไอทีมากขึ้นในเด็ก เช่น แชตกันทั้งวันจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ถือเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน"
       
       
ทั้งนี้ นายแพทย์อดิศักดิ์ยอมรับว่า การจะแก้ไขให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้น
อาจต้องเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนผ่านการให้ความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้อง
       
       
"ทุกวันนี้ ครู โรงเรียน พ่อแม่ให้ความสำคัญกับการใช้ไอทีมาก 
แต่เห็นโทษน้อย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับผลเสียของการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด 
นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญกับพื้นที่กิจกรรม เพื่อให้ครอบครัว และเด็ก ๆ มีพื้นที่ทางเลือกในการพักผ่อนมากขึ้น"
       
       
"ประเด็นที่สองที่เราจะลืมไม่ได้เลยคือ ภาคธุรกิจ ในช่วง 7 - 8 ปีมานี้ 
ธุรกิจทางด้านเกมเติบโตเร็วมาก ดังนั้นเมื่อมีรายได้มากแล้วก็ควรจะละเว้นเหยื่อเด็ก 
โดยการช่วยกันลงทุน สร้างระบบที่จะปกป้องเด็กให้ปลอดภัย ซึ่งเชื่อว่าถ้าภาคธุรกิจร่วมมือกันก็สามารถทำได้ 
เช่น การจำกัดเวลาในการเล่นเกม การลงทะเบียนเล่นเกมโดยใช้เลขบัตรประชาชนในการล็อกอิน
 การจำกัดการใช้เงินในเกม ฯลฯ ทั้งหมดสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบระบบเกมให้รัดกุมขึ้น"
       
       
ขณะที่คุณสีดา ตันทะอทิพานิช จากมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยให้ความเห็นว่า 
ประเทศไทยควรจะมีหลักสูตรที่รอบด้านมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ไอซีที ไม่ใช่แค่เรียนการใช้แอปพลิเคชันเหมือนในปัจจุบัน
 
 
"อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นแค่ประตู แต่เมื่อเด็กเปิดเข้าไปเจอเนื้อหาต่าง ๆ เช่น 
ภาพลามก เกมสนุกตื่นเต้น เขาจัดการได้ไหม นั่นคือการสอนให้เด็กรู้เท่าทันสื่อ 
ซึ่งบ้านเรายังไม่มีหลักสูตรดังกล่าวนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรมเลย ตรงกันข้ามกับในหลายประเทศ
ที่มีสอนตั้งแต่ประถม ยกตัวอย่างเด็ก 6 ขวบในแคนาดาต้องเรียนรู้กฎกติกาการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรับผิดชอบ 
หรือในยุโรปจะสอนเด็กเรื่องโทษภัยควบคู่ไปกับการสอนใช้แอปพลิเคชัน"
 
      
ประเด็นเรื่องของร้านเกมก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในเวทีดังกล่าว 
เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ร้านเกมในสายตาของพ่อแม่มีภาพของผู้ร้ายที่มีส่วนสนับสนุน
ให้ปัญหาเด็กติดเกมนี้รุนแรงยิ่งขึ้นแฝงอยู่ ซึ่งในจุดนี้ นายแพทย์อดิศักดิ์ ในฐานะประธานคณะทำงานฯ กล่าวว่า
       
       
"การจัดสภาพแวดล้อมของร้านเกมมีความสำคัญมาก และควรเป็นร้านเกมสีขาวทุกร้าน
 ไม่ใช่แค่บางร้านเหมือนปัจจุบัน นอกจากนั้นควรมีการเฝ้าระวังภัย เมื่อเด็กไม่ยอมทำตามระเบียบ 
เช่น ไม่ยอมแสดงสถานะบุคคล ก็ควรตักเตือน หรือระงับการใช้ ด้านผู้ดูแลร้านเกมควรได้รับการอบรม 
เพื่อจะได้ช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงทีกรณีที่กำลังจะถูกล่อลวง"
      
 
จะเห็นได้ว่า แนวทางการแก้ปัญหาเด็กติดเกมที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในเวทีดังกล่าวทั้ง 4 ด้าน
 ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวและชุมชนผ่านการให้ความรู้ 
และการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมเพื่อให้ชุมชนได้ใช้เวลาว่างร่วมกัน แทนการมั่วสุมอยู่ในร้านเกม 
หรือนโยบายของภาคธุรกิจที่ละเว้นกลุ่มเด็ก ด้วยการสร้างระบบการลงทะเบียนที่รัดกุม 
มีการจำกัดความบันเทิงกับกลุ่มเด็ก ไม่ให้มากเกินไปจนเกิดการเสพติด หรือการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเด็ก ๆ 
เพื่อให้พวกเขารู้เท่าทันสื่อ และประการสุดท้ายคือการมีผู้ประกอบการร้านเกมที่ดี 
และมีจิตสำนึกในการประกอบธุรกิจ ล้วนเป็นสิ่งที่พ่อแม่ และทุกฝ่ายที่ตระหนักถึงปัญหานี้
ยินดีจะได้เห็นภาพดังกล่าวปรากฏขึ้นในสังคมไทย แต่ปัญหาใหญ่ที่แท้จริง และยังไม่มีใครให้คำตอบได้
 
ณ วันนี้ก็คือ "ใคร" จะเป็นเจ้าภาพหลักในการนำแนวทางเหล่านั้นไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อดึงเด็ก ๆ ขึ้นมาจากปัญหาเสพติดเกม?
       
หรือนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของการตัดสินใจ "ช้าเกินไป" ที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยมักแสดงให้โลกเห็นก็เป็นได้...
 
 
 
ที่มา: 
http://www.csip.org
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • วธ.เผยเด็กไทยติดมือถือ แชมป์เอเชีย
  • แคมป์บำบัดอาการติดเน็ต ติดเกม
  • เกมสมดุล...ชีวิตสมดุล
  • เด็กไทยติดกับดัก เซ็กซ์ เสพยา บ้าเกม
  • คลั่งเกมยังมีปัญหา(1) 'สังคมวิทยา' บ่งชี้ 'ปัจจัยน่าคิด??'
  • IT กับสังคม
  • ช่วยเหลือ
  • ติดเกม
  • ปลอดภัย
  • ร้านเกม
  • สีขาว
  • เกม
  • Login to post comments
  • อ่าน 1655 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
43,087
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,738
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,367
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,175
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
14,999
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
13,412
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)