Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » อึ้ง ! เด็กไทยติดเกม-เล่นออนไลน์ แค่ปี 56 พุ่งเกือบ 3 ล้าน
ต.ค.15

อึ้ง ! เด็กไทยติดเกม-เล่นออนไลน์ แค่ปี 56 พุ่งเกือบ 3 ล้าน

อึ้ง ! เด็กไทยติดเกม-เล่นออนไลน์ แค่ปี 56 พุ่งเกือบ 3 ล้าน

     เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 56 ที่สยามเซ็นเตอร์ กระทรวงวัฒนธรรมเปิดตัวโครงการ “เด็กไทยกับไอที” และงาน  Thailand Game Show BIG Festival จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18-20 ต.ค. นี้ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยนายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า ปัจจุบันเป็นโลกของไอที ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงสื่อได้ง่าย ทำอย่างไรเด็กจะเข้าถึงสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ผ่านมา วธ.ดูแลเรื่องเฝ้าระวัง ต่อไปต้องสร้างวัคซีนคุ้มกันเด็กและเยาวชน ผลิตสื่อที่ดีช่วยเหลือคุณภาพชีวิต ส่วนการแก้ปัญหานั้นตนเห็นว่าต้องเริ่มฟังจากเสียงเด็กและเยาวชนก่อน

     โดยงาน “เด็กไทยกับไอที” ครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่จะได้ฟังเด็กมาร่วมกิจกรรม แสดงความคิดเห็นต่างๆ ทั้งนี้ ตนยืนยันว่า เด็กติดเกมไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นพฤติกรรมของเด็กที่ใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์  และร้านเกมก็ไม่ใช่แหล่งปัญหา แหล่งมั่วสุม แต่ควรจะมองว่าเป็นแหล่งสืบค้นเรียนรู้ ความบันเทิง โดยชักชวนร้านเกมทั่วประเทศมาเข้าร่วมโครงการร้านเกมสีขาว มีกำหนดเวลาเล่น บรรยากาศที่ดี มีความปลอดภัย เหมือนเป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นตัวอย่างร้านเกมที่ดี รับรองได้ว่าเด็กได้รับความปลอดภัย

     รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า จากการจัดทำแบบสำรวจที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต เก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20,000 คนทั่วประเทศ ระหว่างเดือน มี.ค-มิ.ย. 2556 ที่ผ่านมาพบว่าในจำนวนนี้พบเด็กติดเกม 15%และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสถิติจำนวนเยาวชนที่มีอยู่ในปปัจจุบันจำนวน 18 ล้านคน ทำให้ทราบว่า ขณะนี้มีเด้กไทยติดเกมแล้วมากกว่า 2,700,000 คน ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก

     ทั้งนี้ พฤติกรรมของเด็กที่ติดเกม คือ 1. จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง จนถึงขั้นทำร้ายพ่อแม่ ผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตายเมื่อถูกห้ามไม่ให้เล่นเกม 2. หนีเรียน เก็บตัวอยู่บ้านเพื่อเล่นเกม ไม่นอนในเวลากลางคืน 3. มีปัญหาการเรียนตกต่ำ ไม่เข้าร่วมกิจกรรม อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ถือว่าเข้าข่ายติดเกมรุนแรง ต้องเข้าบำบัดรักษา ซึ่งปัจจุบันเด็กที่จะเข้ามารักษามีจำนวนน้อยมาก เฉลี่ยปีละ 30-40 คนเท่านั้น

     “สิ่งที่ทำให้เด็กเข้ามาบำบัดน้อย เนื่องจากผู้ปกครองไม่ทราบว่าจะพาลูกไปรักษาที่ไหน ทั้งนี้ การรักษาเด็กติดเกมถือว่า ต้องใช้เวลาพอๆกับการเลิกยาเสพติด ต้องมีการล้างพิษ ในระยะแรก คือการนำเด็กออกจากโลกไอทีทั้งหมด วิเคราะห์หาจุดดีของเขาเพื่อส่งเสริมให้ทำกิจกรรมดีๆ มีวินัยในการทำหน้าที่ของตนเอง ซึ่งปัจจุบันจะส่งเสริมให้มีการทำการรักษาแบบครอบครัวบำบัด เพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จ” รศ.นพ.ชาญวิทย์ กล่าว

     รศ.นพ.ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีพฤติกรรมวัฒนธรรมก้มหน้า คนไม่มองหน้ากัน มองแต่จอมือถือตัวเอง พบเห็นได้ตามท้องถนน ที่สาธารณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชนเผ่าหัวก้ม เป็นอาการอย่างหนึ่ง ชีวิตเราผูกพันไอทีมากเกินไป เหมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ในมุมมองผู้ใหญ่ก็มองว่าน่าจะมีอย่างอื่นทดแทนไอที เราไม่ปฏิเสธประโยชน์ของไอที แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ยอมรับคือ เด็กไม่สามารถแยกแยะข้อดี ข้อเสีย และทำให้ไอทีมีผลกระทบชีวิตตัวเอง ดังนั้น การจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ให้เด็กๆ หันเหความสนใจกับสิ่งอื่นๆรอบตัวบ้าง

     ทั้งนี้ วธ. จะมีการจัดงาน “เด็กไทยกับไอที” ระหว่างวันที่ 18-20 ต.ค. 56 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน จะมีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การประกวดคลิปวีดิโอ “เด็กไทยกับไอที” โดยจะมีการจัดนิทรรศการ “เด็กไทยกับไอที” ใน 3 เรื่อง ได้แก่ นิทรรศการ “พระเจ้าอยู่หัวกับไอที” นำเสนอพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งในด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสายพระเนตรอันกว้างไกล ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยียุคใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นิทรรศการในประเด็นเรื่องสื่อไอที ประกอบด้วย เกม สื่อดิจิตอล และพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กไทย และนิทรรศการ “Kids Culture” แสดงให้เห็นพัฒนาการทางการละเล่นของเด็กในรูปแบบดิจิตอล นิทรรศการทั้งหมดใช้เทคโนโลยีอินเทอร์แอคทีฟเข้ามาผสมผสาน เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างสนุกสนาน และได้รับสาระความรู้ไปพร้อมกัน

     นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการเสวนาเกี่ยวกับ “เด็กไทยกับไอที” ในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย เด็กไทยรู้เท่าทัน “เกม” เด็กไทยกับสื่อดิจิตอล และเด็กไทยกับการต่อยอดบนสมาร์ทโฟน

ที่มา: 
ไทยรัฐ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • คนแห่เลิกเล่นเฟซบุ๊คหวั่นติดภาวะฆ่าตัวตาย
  • กระทรวงสาธารณสุขห่วงภัยเงียบ “สื่อสังคมออนไลน์” นำเด็กและสตรีตกเป็นเหยื่อความรุนแรงง่ายขึ้น
  • เด็กไทยติดกับดัก เซ็กซ์ เสพยา บ้าเกม
  • คุณติดมือถือแค่ไหน?
  • [คลิปวิดีโอ เด็กไทยกับไอที] ... ผลงานเรื่อง "ความเป็นไทยน่าสนใจเสมอ" ... [ระเบิดไอเดีย ระดมความกล้า ท้าทำคลิป]
  • IT กับสังคม
  • facebook
  • healthygamer
  • online
  • paragon
  • smartphone
  • Thailand game show big festival
  • การรักษา
  • จำนวน
  • ติดเกม
  • ผลสำรวจ
  • พฤติกรรมก้าวร้าว
  • พารากอน
  • สมาร์ทโฟน
  • สื่อ
  • ออนไลน์
  • อารมณ์แปรปรวน
  • เก็บตัว
  • เด็กไทย
  • เด็กไทยกับไอที
  • เฟซบุ๊ค
  • Login to post comments
  • อ่าน 1938 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
44,926
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,924
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,602
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,346
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
15,219
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
14,528
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)