Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » ระวัง! 5 สารพิษ ภัยไร้สายที่คุณไม่รู้
มี.ค.6

ระวัง! 5 สารพิษ ภัยไร้สายที่คุณไม่รู้

ระวัง! 5 สารพิษ ภัยไร้สายที่คุณไม่รู้

 

 

 

 

 

IT 24 ชม. อันตรายจากแบตฯเสื่อม และวิธีป้องกัน

การใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันนอกจากจะตอบสนองต่อความเร่งรีบในชีวิตประจำวันแล้ว ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการเสี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ เพราะไม่ว่าการใช้มือถือ แท็บเล็ต โน็ตบุ๊ค ผู้ใช้งานก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ซึ่งเจ้าแบตเตอรี่นี่แหละเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ใช้งาน หากตัวแบตไม่อยู่ในสภาพที่ปกติ หรือมีอาการแบตเสื่อมนั่นเอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบตเตอรี่ในอุปกรณ์ที่เราใช้นี้อยู่ไม่ได้กำลังทำลายสุขภาพที่ดีของเรา?

น.พ. สิทธา ลิขิตนุกูล หรือหมอกอล์ฟ แพทย์เวชปฎิบัติศูนย์บริการสาธารณสุข 14 ได้ให้คำแนะนำว่าผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้หมั่นคอยตรวจสอบอุปกรณ์ในมือด้วยตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อต่อสุขภาพ โดยมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นดังนี้

1. อุปกรณ์ไม่สามารถชาร์ตไฟได้เต็ม

2. เมื่อชาร์ตแบตเตอรี่ไปได้ไม่นาน แล้วเกิดอาการร้อนที่ผิดปกติ

3. เมื่อนำแบตเตอรี่มาทดลองหมุนบนพื้นโต๊ะ แล้วสามารถหมุนได้แสดงว่าแบตเกิดอาการบวม นูน เป็นที่ชัดเจนเลยว่าแบตเสื่อมแล้ว

4. หากแบตเตอรี่บวมแล้วมีน้ำซึมออกมา หรือมีสนิมสารเคมีมาเกาะ แสดงว่าแบตเสื่อมจนไม่สามารถใช้งานได้แล้ว ให้รีบก็เปลี่ยนแบตเตอรี่ทันที

ภาพประกอบจาก i DeeCraft.com

คุณหมอกอล์ฟยังบอกอีกว่า เพราะว่าในแบตเตอรี่ มีสารเคมีมากมายเป็นส่วนประกอบ หากมันไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปกติ เราอาจจะเสี่ยงต่อพิษของสารเคมีต่างๆได้ดังนี้

1. แคดเมียม ซึ่งหากสะสมในร่างกายในปริมาณถึงระดับหนึ่งก็จะก่อให้เกิดโรคไตวายได้ และเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งโดยการสูดดม

2. ตะกั่ว เป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางระบบย่อยอาหาร ไต โลหิต หัวใจ การพัฒนาของทารกในครรภ์

3. ลิเธียม ก่อให้เกิดการการระเคืองต่อจมูก ลำคอ ทำให้หายใจติดขัด ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีฤทธิ์ กัดกร่อนทำให้เกิดอาการ เจ็บคอ ปวดท้องและอาเจียนได้ ถ้าเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองและอาจทำให้ตาบอด

4. ทองแดง ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ และเป็นอันตรายหากกลืนกิน

5. นิเกิล เป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อหายใจเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ หายใจติดขัดและทำให้ผิวหนัง อักเสบ และถ้ากลืนหรือกินเข้าไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

ซึ่งการตรวจหาสารพิษต่างๆในร่างกาย สามารถตรวจได้ตั้งแต่การตรวจร่างกายภายนอก จนถึงการตรวจหาสารพิษทางโลหิตวิทยา แต่ทางที่ดีผู้ใช้งานก็ควรใช้อุปกรณ์ในมืออย่างระมัดระวัง นอกจากสามารถอำนวยความสะดวกได้แล้ว ก็ต้องมีสุขภาพที่ดีไปพร้อมๆกัน อย่าให้ถึงขนาดใช้ไปป่วยไป หรือใช้เทคโนโลยีแล้วต้องใช้เงินเพิ่มเติมในการรักษาตัวเอง

สนับสนุนเนื้อหาโดย 

 

เรียบเรียงโดย 

ที่มา: 
Sanook
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย ! แต่ป้องกันได้แค่ทำตามนี้
  • 17 สัญญาณอันตราย ถึงเวลาต้องวางสมาร์ทโฟนเสียที
  • เคล็ดลับ ป้องกันลูกเสพติดเทคโนโลยี
  • ติด "เทคโนโลยี" มีผลกระทบ!!
  • การติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนไทย
  • IT กับสุขภาพ
  • มือถือ
  • สารพิษ
  • อันตราย
  • เทคโนโลยี
  • แท็บเล็ต
  • แบตเตอรี่
  • แบตเตอรี่โทรศัพท์
  • แบตเสื่อม
  • โน็ตบุ๊ค
  • Login to post comments
  • อ่าน 3239 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
44,923
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,922
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,601
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,345
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
15,217
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
14,524
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)