Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » หยุด..ทำลายสมองเด็กด้วย ไอที !!!
มี.ค.13

หยุด..ทำลายสมองเด็กด้วย ไอที !!!

หยุด..ทำลายสมองเด็กด้วย ไอที !!!

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัญหาใหญ่ สุขภาพเด็กไทย ที่ถูกละเลย 

 

“เด็กไทย กับ ไอที...หยุด..ทำลายสมองเด็กด้วย ไอที !!!”

 

10 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมแม่น้ำรามาดาพลาซ่า

 

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  จัดงานประชุมวิชาการ เรื่อง ปัญหาใหญ่สุขภาพเด็กไทยที่ถูกละเลย// ในประเด็น “ เด็กไทย กับ ไอที !!! ”

 

รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี กุมารแพทย์ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กของโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีรุดหน้าไปเร็ว มีทั้งผลดีและไม่ดี โดยเฉพาะกับเด็กเช่น เฟสบุค ไลน์ เกมส์ พบว่าเด็กใช้มาก ใช้ฟุ่มเฟือย เด็กเข้าถึงง่าย จนก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่น เกิดภาวะเสพติดการใช้จนมีผลเสียต่อพัฒนาการ การเรียน และสุขภาพ social media เหล่านี้ยังเป็นช่องทางก่อให้เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการถูกล่อลวง หรือเด็กเองทะเลาะกันระหว่างกลุ่มจากความไม่พอใจที่ต่อว่ากันทาง socialmedia นำไปสู่การยกพวกตบตีล้างแค้นกัน ฯลฯ

 

การเสพติดเกมถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญและเป็นปัญหาทีเด็กทั่วโลกเผชิญ จากผลวิจัยพบว่าเด็กที่ติดเกมจะมีภาวะจิตใจพึ่งพิง มีความสุขกับการเล่นจนไม่อยากเลิกต้องการเล่นมากขึ้น ไม่สนใจกิจวัตรประจำวันเช่นอดกิน อดนอน จนเสียสุขภาพ และจะโกรธก้าวร้าว เกมเหล่านี้ถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญหลายด้านให้ผู้เล่นอยากเล่นมีลูกเล่นมากมายให้ผู้เล่นติดพัน นอกจากนั้นบางเกมเนื้อหายังก่อให้เกิดความหมกมุ่นในความรุนแรงเพศ ผลการตรวจ functionalMRI ของสมองเด็กติดเกมพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองมีการเชื่อมโยงลดลงความจำลดลง ไอคิวลดลง ฯลฯ  ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 3ปี ไม่ใช้สื่อหน้าจอทุกชนิดเลยไม่ว่าจะเป็นทีวี คอมพิวเตอร์ เด็ก 3 ปีขึ้นไปใช้1-2 ชั่วโมงต่อวัน เด็ก 13 ปีถึงควรใช้ social media  อย่างไรก็ตามพ่อแม่ก็ควรแนะนำการใช้อย่างใกล้ชิดและวางกฎการใช้อย่างปลอดภัยร่วมกันเสียแต่แรกด้วยเช่นการไม่เปิดเผยชื่อ ที่อยู่เบอร์โทรให้คนไม่รู้จักกันผ่านทาง social media

 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก กล่าวว่า ประเทศเกาหลีจีนซึ่งเป็นผู้ออกแบบและขายเกมรายใหญ่ของโลก มีปัญหาเด็กติดเกมอย่างหนัก มีการแก้ปัญหาโดยการตั้งคลินิกค่าย บำบัดเด็กติดเกม แต่นั่นก็เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และก็ไม่ง่ายที่จะทำให้สำเร็จดังนั้นการป้องกันที่ต้นเหตุน่าจะเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนโดยเน้นมาตรการควบคุมเนื้อหาและควบคุมเวลาการใช้งานนอกจากเราต้องให้ความรู้ครอบครัวและเด็กในการรู้เท่าทันและป้องกันตนเองจากสื่อร้ายกาจเหล่านี้เราควรเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองไม่ให้ผู้ผลิตเกมต่างๆใช้กลไกการตลาดอย่างเสรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปีต้องได้รับการปกป้องไม่ให้เป็นเหยื่อของการตลาดส่วนเด็กโตต้องช่วยกันเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันด้วยตนเองนอกจากนั้นผู้ผลิตไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตเกมผู้ผลิตเคริ่องมือสื่อสารต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยในประเทศพัฒนาผู้ผลิตเหล่านี้มีส่วนร่วมจ่ายในการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยสำหรับเด็กและครอบครัวทั้งของทีวี โทรศัพท์มือถือคอมพิวเตอร์ เช่น ทีวีรุ่นใหม่ใส่ชิพเรียก V-Chip ทำงานร่วมกับการเรทติงรายการต่างๆตามอายุเด็กและใส่โค๊ดตามเรทติงที่ได้ลงไปในสัญญาณการออกอากาศในบ้านที่มีเด็ก ผู้ใหญ่จะตั้งรหัสที่ให้เวลาที่เด็กดูทีวีกับครอบครัวเชิพนี้ทำงานรายการที่ปรากฏก็จะเป็นรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็กด้วยเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเครื่องที่เรียกว่า TV GUARDIAN ใช้คัดกรอง ตัดคำพูดหยาบคายออกเครื่อง TV TIMER ใช้จำกัดเวลาของสื่อหน้าจอทุกอย่างในบ้านไม่ว่าจะเป็นทีวีคอมพิวเตอร์  ให้เด็กใช้ได้ไม่เกินเวลาที่เรากำหนดเช่น 1ถึง 2 ชั่วโมงต่อวัน ในโทรศพท์มีการพัฒนา childsafety mode ในรุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็น Samsung หรือnokia จะมี internet filter คือคัดกรองเวปไซต์ลามก หยาบคาย เกม หรือ การใช้ social media ที่ไม่เหมาะสมตามอายุเด็กบางค่ายมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ช่วยทำงานดังกล่าวรวมทั้งสามารถควบคุมเวลาการใช้งานของเด็กไม่ให้เกินคำแนะนำการใช้ตามอายุของเด็ก99ได้ด้วย.oFmiLyrmNRating Internet Filter (การใช้เรทติ้งกำหนดอายุเด็กในการชมสื่อ)รวมถึง Application ต่างๆ ในมือถือ เช่น Kid Mode ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยก็มีความพยายามทำในเรื่องเหล่านี้อยู่

 

ในส่วนการดูแลเด็กการให้ความรู้ครอบครัวราชวิทยาลัยกุมารแพทย์จะเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆต่อไปแต่ในส่วนการสร้างกลไกการตลาดที่มีคุณธรรมการค้าขายที่คำนึงถึงสิทธิความปลอดภัยของเด็กนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์เรียกร้องให้กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงไอซีที เร่งทำเรื่องเรทติงเกม เวปไซท์ รายการทีวีและภาพยนตร์ และหามาตรการให้ผู้ผลิตสร้างเทคโนโลยีต่างๆใส่เข้าไปในเครื่องมือสื่อสารและใส่ในระบบอินเทอร์เนตให้สอดคล้องกับการเรทติงตามอายุเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ในการดูแลลูกในครัวเรือนรวมทั้งใช้เทคโนโลยีนี้ในการควบคุมร้านเกม หรือคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดของโรงเรียนต่างๆด้วย และเพื่อให้การตลาดของเครื่องมือสื่อสารเป็นการตลาดที่สะอาดไม่ค่าขายเอากำไรกับเด็กอย่างไม่มีคุณธรรม นางยุพา ทวีวัฒนธกิจบวร (กระทรวงวัฒนธรรม) กล่าวว่า .... ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้ทำโปรแกรมคัดกรองเกมไม่เหมาะสมสำหรับครัวเรือน เรียกว่า Healthy Gamer พ่อแม่ที่สนใจขอรับได้ที่กระทรวง แต่ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมคัดกรองในการควบคุมร้านเกม

 

เชิญรับชมภาพบรรยากาศได้เลยค่ะ...

โดย ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี

 

ที่มา...  Facebook ของ คุณประจวบ ผลิตผลการพิมพ์

            Child safety promotion and injury prevention research center

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • เช็กด่วน ! 6 สัญญาณที่บอกว่าคุณติดสมาร์ทโฟนเข้าขั้นวิกฤต
  • มาเล่น มาเรียนรู้ โดยมีธรรมชาติเป็นครู...^^
  • เชิญเที่ยวงาน "สถานีรอยยิ้ม ลานเล่น เรียนรู้ กาฬสินธุ์นี้ดีจัง"
  • วธ.เผยเด็กไทยติดมือถือ แชมป์เอเชีย
  • ความจริงทั้งน้านนน...พบกับ 17 ภาพเสียดสีการติดสมาร์ทโฟนของคนในสมัยนี้ได้อย่างเจ็บแสบ!!!
  • IT กับสุขภาพ
  • Healthy Gamer
  • social media
  • การป้องกันเด็กติดเกม/ไอที
  • คอมพิวเตอร์
  • ตลาดไอที
  • วิธีการเลี้ยงลูกติดเกม/ไอที
  • วิธีดูแลลูกติดเกม/ไอที
  • สมาร์ทโฟน
  • หยุด..ทำลายสมองเด็กด้วย ไอที
  • ออนไลน์
  • อินเทอร์เน็ต
  • เกม
  • เกมส์
  • เด็กติดเกม
  • เด็กติดเกมส์
  • เด็กไทย
  • เวปไซต์ลามก
  • แนวทางแก้ไขเด็กติดเกม/ไอที
  • โซเชียลเน็ตเวิร์ค
  • ไอที
  • Login to post comments
  • อ่าน 2105 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
42,299
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,719
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,326
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,149
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
14,910
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
13,182
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)