Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » คนวัยทำงานระวัง "เสพติดออนไลน์" ทำเครียด
พ.ค.23

คนวัยทำงานระวัง "เสพติดออนไลน์" ทำเครียด

คนวัยทำงานระวัง "เสพติดออนไลน์" ทำเครียด

 

          นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าประชากรในวัยทำงานมีปัญหาสุขภาพจิตกันมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาภัยแล้ง ความเครียดจากหนี้สิน และความรัก กันมากขึ้น ซึ่งอาการที่พบอันดับ 1 ได้แก่ วิตกกังวล และซึมเศร้า รองลงมาคือปัญหาติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นำไปสู่ปัญหาทะเลาะวิวาทในสถานประกอบการ นอกจากนี้ยังพบเทรนด์ใหม่มีการเสพติดการพนันออนไลน์ เสพติดโซเชียลมีเดีย หรือโรคเสพติดพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดในการทำงาน แต่หาทางออกไม่ได้เลยใช้เวลาอยู่กับสิ่งเหล่านี้จนเกิดการเสพติด สูญเสียความรับผิดชอบในการทำงาน เสียการรับผิดชอบในครอบครัว เป็นต้น
 
          นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อว่า วิธีการสังเกตว่ามีปัญหาเสพติดสื่อหรือไม่นั้น ดูจากการใช้สื่อออนไลน์ติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง โดยไม่มีการหยุดพัก ซึ่งถือเป็นอาการเริ่มต้น แต่ถ้าจะดูว่ามีเป็นโรคหรือไม่นั้นดูจากการสูญเสียการทำหน้าที่ เช่น ไม่รับผิดชอบต่องาน ไม่ไปทำงาน หรือพ่อ แม่ ไม่ทำหน้าที่ในการดูแลบุตร อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องการเสพติดสื่อออนไลน์ถือเป็นปัญหามาก โดยเฉพาะในส่วนของประเทศไทยมักใช้ไปเพื่อความบันเทิงมากกว่า ทำให้องค์การอนามัยโลกเตรียมที่จะบรรจุเรื่องของการเสพติดสื่อออนไลน์ให้เป็น 1 ในคำวินิจฉัยทางจิตเวช คาดว่าจะประกาศอยู่ในระบบการวินิจฉัยใหม่ที่เป็นเกณฑ์ให้แต่ละประเทศใช้ได้ภายใน 1-2 ปีนี้ และหลังองค์การอนามัยโลกประกาศใช้แล้วกรมสุขภาพจิตก็จะมีการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตแรงงานไทยอีกครั้งเพื่อระบุความรุนแรงโรคการเสพติดพฤติกรรม ว่าอยู่ในระดับใด
 
         นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อว่า สุขภาพจิตในสถานประกอบการเป็นเรื่องสำคัญ ขณะนี้กรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการความสุข 8 ประการ สร้างสุขด้วยสติ เน้นการสื่อสารภายในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ที่เริ่มมีปัญหาต้องรู้จัดการแผนชีวิต เช่น ออกกำลังกาย ฝึกการผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ ถ้าเป็นมากก็ต้องได้รับการปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ ซึ่งปัจจุบันในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป จะมีคลินิกสุขภาพจิตมีบุคลากรเหล่านี้ทุกแห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนก็มีเกือบจะครบทุกแห่งแล้ว.
 
 
 

ที่มา : www.matichon.co.th

ที่มา: 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • อันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
  • ใครที่ชอบนอนหลับไปพร้อมกับโทรศัพท์ข้างตัว…อยากให้คุณได้อ่านบทความนี้
  • ภัยจากFacebook
  • ผลวิจัยชี้! เล่นเกมมากก่อนนอน มีผลเสีย
  • ระวัง! 5 สารพิษ ภัยไร้สายที่คุณไม่รู้
  • IT กับสุขภาพ
  • การใช้สื่อออนไลน์
  • ความรุนแรงโรคการเสพติดพฤติกรรมม คลินิกสุขภาพจิต
  • ความเครียดในการทำงาน
  • คำวินิจฉัยทางจิตเวช
  • ปัญหาเสพติดสื่อ
  • องค์การอนามัยโลก
  • เสพติดการพนันออนไลน์
  • เสพติดโซเชียลมีเดีย
  • โรคเสพติดพฤติกรรม
  • โรคเสพติดออนไลน์
  • Login to post comments
  • อ่าน 1372 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
42,305
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,720
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,327
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,150
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
14,911
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
13,183
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)