Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » คุก1ด./ปรับ1หมื่นมนุษย์กล้อง ถ่ายนาทีชีวิตแต่ไม่ช่วย...
มิ.ย.20

คุก1ด./ปรับ1หมื่นมนุษย์กล้อง ถ่ายนาทีชีวิตแต่ไม่ช่วย...

คุก1ด./ปรับ1หมื่นมนุษย์กล้อง ถ่ายนาทีชีวิตแต่ไม่ช่วย...
          หลายคนคงเคยแชร์คลิปวิดีโอที่เผยให้เห็นเหตุการณ์นาทีระทึกต่างๆ ทั้งที่ถูกบันทึกได้จากกล้องติดรถ วงจรปิดต่างๆ และที่สะดวกและง่ายที่สุด คือการบันทึกด้วยโทรศัพท์มือถือ หรือ “สมาร์ทโฟน” ซึ่งมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ล่าสุดวันที่ 20 มิ.ย. ทนายความเจ้าของแฟนเพจชื่อดัง “ทนายเพื่อนคุณ” กล่าวผ่าน “เดลินิวส์ออนไลน์” ด้วยว่า การถ่ายคลิปเพื่อเรียกยอดไลค์จากนาทีชีวิตของคนอื่น ทั้งที่ตัวเองช่วยได้ แต่กลับไม่ช่วยเลือกถ่ายคลิป จะมีความผิดฐานละเว้น ตามกฏหมายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือชีวิตผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือ ปรับ ไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
 
          “ไม่ช่วยทั้งๆที่ตัวเองช่วยได้ แต่เจตนายังจะถ่ายคลิป อาจเข้าข่ายความผิดฐานละเว้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีผู้ประสบอันตรายถึงระดับชีวิต อย่างคนจมน้ำ อย่างน้อยผู้เห็นเหตุการณ์แม้จะรู้ตัวว่าว่ายน้ำไม่เป็น แต่ควรตะโกนร้องเรียก หรือวิ่งไปตามคนที่อยู่แถวนั้นให้มาช่วยเหลือ กฎหมายมีจุดประสงค์เพื่อให้มนุษย์ไม่นิ่งดูดาย อย่าละเลยในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ แน่นอนว่าการกระทำตามมาตรา 374 ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมาย แต่ว่าด้วยจิตสำนึกที่ดีของวิญญูชน รวมถึงความมีน้ำใจและการมีมนุษยธรรมต่อเพื่อนร่วมโลก” ทนายความ กล่าว
 
          ทนายความ ยังอธิบายต่ออีกว่า ถึงแม้ในภายหลังเขาจะรอดหรือไม่รอดชีวิตไม่สำคัญ แต่ในฐานะที่จะช่วยได้แล้วไม่ช่วย ผิดเต็มๆ แต่หากกรณีที่การช่วยเหลือ ต้องแลกชีวิตผู้ช่วยเหลือ ถึงแม้ไม่ช่วยก็ไม่ผิด ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูที่สามัญสำนึกรายละเอียดเป็นกรณีๆไปว่าพยายามอย่างวิญญูชนทั่วๆไปหรือไม่ แต่สำหรับกรณีถ่ายคลิปเพื่อปกป้องตัวเอง หรือเป็นพยานหลักฐานต่างๆ ถ้าไม่ได้ไปละเมิดสิทธิใคร ในทางกฎหมายสามารถทำได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะผิดตามมาตราดังกล่าว แต่หากเจอเหตุการณ์ตามมาตรา 374 ป.อาญา และยังมัวถ่ายคลิปอยู่โดยไม่ช่วยผู้ประสบภัย จะผิดเต็มๆ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าว กำหนดไว้เพื่อปราบคนแล้งน้ำใจ
 
          “สิ่งที่สังคมต้องช่วยดำเนินการในตอนนี้เป็นอันดับแรก ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง เพราะปัญหาจะเกิดขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ ตามสภาพสังคมและการเวลา แต่ต้องพัฒนาตัวบุคลในสังคม พัฒนาตัวผู้ใช้กฎหมายให้มีความรู้และศีลธรรมควบคู่กันไป กฎหมายนั้นออกโดยคนในสังคมและผู้ใช้ก็คือคนในสังคม ดังนั้นถ้าคนในสังคมมีคุณภาพแล้ว กฎหมายและการใช้บังคับก็จะดีตามไปด้วยนั่นเอง และนี่ก็คือการแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นที่ต้นเหตุโดยแท้จริง” ทนายความ ระบุ.
 
 
 
ขอบคุณภาพ : ทนายเพื่อนคุณ...
ที่มา: 
เดลินิวส์ออนไลน์
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • ถึงเวลาสร้างครอบครัว Digital Detox กันได้แล้ว
  • ใครที่ชอบนอนหลับไปพร้อมกับโทรศัพท์ข้างตัว…อยากให้คุณได้อ่านบทความนี้
  • วธ.เผยเด็กไทยติดมือถือ แชมป์เอเชีย
  • ลูกพร้อมมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองหรือยัง?
  • เช็กด่วน ! 6 สัญญาณที่บอกว่าคุณติดสมาร์ทโฟนเข้าขั้นวิกฤต
  • IT กับสังคม
  • คลิปวิดีโอ
  • ถ่ายคลิป
  • ถ่ายคลิปเพื่อเรียกยอดไลค์
  • ถ่ายคลิปโดยไม่ช่วยผู้ประสบภัย
  • ทนายเพื่อคุณ
  • สมาร์ทโฟน
  • โทรศัพท์มือถือ
  • Login to post comments
  • อ่าน 1087 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
43,087
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
18,738
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
18,367
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
17,175
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
14,999
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
13,412
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)