Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » ป้องกันอาชญากรรมแก่เด็ก ไม่โพสต์รูปลูกลงโซเชียล
ก.ค.11

ป้องกันอาชญากรรมแก่เด็ก ไม่โพสต์รูปลูกลงโซเชียล

ป้องกันอาชญากรรมแก่เด็ก ไม่โพสต์รูปลูกลงโซเชียล
          เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา คุณแม่ท่านหนึ่งได้เข้าแจ้งความกับตำรวจแล้ว  เนื่องจากมีญาติๆ พบเห็นว่ามีเฟซบุ๊กของชายคนหนึ่งนำภาพลูกสาวของคุณแม่ ไปมโนว่าเป็นหลานของตัวเอง  ซึ่งเป็นรูปเก่าๆ ของลูกที่คุณแม่โพสต์ไว้หลายปีแล้ว  ชายดังกล่าวนำมาเล่นเรื่องเป็นตุเป็นตะว่าไปรับที่โรงเรียน  ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
 
 
          คุณแม่แสดงความกังวลและต้องการออกมาเตือนคุณแม่ทุกท่านให้ระวังผู้ไม่หวังดีนำรูปลูกของตนเองไปใช้โดยไม่ทราบเจตนา  ซึ่งในโพสต์ของชายดังกล่าวนั้นก็มีคนเชื่อและชื่นชมความน่ารักของเด็ก ทั้งๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางเครือญาติกันเลย  คุณแม่จึงร้อนใจเข้าแจ้งความก่อนจะเกิดเหตุไม่ดีขึ้นอีก
 
 
          ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจไม่ใช่ครั้งแรกในบ้านเรา  แต่เมื่อถูกแชร์มากทำให้ถูกพูดถึงและเป็นประเด็นทางสังคมว่าควรช่วยกันออกมาปกป้องสิทธิของเด็ก  เพราะเด็กเองก็เลือกไม่ได้ว่าอยากจะเผยแพร่รูปของตัวเองหรือไม่ และอนาคตหากลูกย้อนกลับมาดูภาพ จะเหมาะสมหรือไม่?
 
 
          ตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านที่เริ่มออกมาพูดถึงสิทธิของเด็ก  และความปลอดภัยทางโซเชียลคือมาเลเซีย  โดย กระทรวงการพัฒนาสังคม สตรี และความมั่นคงของประเทศมาเลเซีย ได้ยกตัวอย่างจากต่างประเทศมีการรณรงค์เรื่องการโพสต์รูปเด็กผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างจริงจัง เพราะ รูปเด็กน่ารัก อาจจะกลายเป็นเป้าของพวกชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก และอาจจะถูกสูบรูปไปโพสต์ไว้ในกลุ่มเว็บไซต์ของคนกลุ่มนี้  ซึ่งเมื่อภาพถูกเผยแพร่ไปโดยง่ายแล้วก็ยากที่จะสืบหาที่มาว่ามาจากไหน  ตัวอย่าง สหรัฐอเมริกาที่มีกฏห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ให้มีบัญชีผู้ใช้โซเชี่ยลมีเดีย ทั้งอินสตาแกรม  เฟซบุ๊ก และอื่นๆ
 

ภาพจาก Scarymom.com

 
          ภัยอันตรายที่ไม่คาดคิดอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆ ลูกหลานของเราอย่างหนึ่งนั้น  อาจมาจากกลุ่มคนโรคจิตที่ติดตามสอดส่องบุตรหลานของเราผ่านโซเชี่ยลมีเดีย  ไม่ว่าจะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิงก็อันตรายทั้งนั้น 
 
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กซึ่งไม่ควรโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย

 

 
1. ที่ตั้ง สถานที่ เช่น … เพิ่งไปส่งที่โรงเรียน  หรือ กำลังไปเที่ยวห้างกัน  เพราะเด็กอาจถูกติดตามลักพาตัวได้ง่าย
2. ข้อมูลเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น  … ลูกกับแม่กำลังมาเทียวกับเพียงลำพัง  เพราะผู้ไม่หวังดีอาจติดตามรอความชะล่าใจของผู้ปกครองเพื่อเข้าใกล้เด็กได้
3. ภาพเปลือย  ไม่ว่าวะจะเป็นเด็กทารก  เด็กหญิง หรือ  เด็กชาย  เพราะจะมีพวกโรคจิตไม่หวังดีนำไปเผยแพร่ต่อได้
4. รายละเอียดของลูก  ว่าเรียนที่ไหน  ชอบทำอะไร  เพราะผู้ไม่หวังดีสามารถนำข้อมูลนี้ไปตีสนิทเพื่อเข้าใกล้เด็กได้
5. ที่อยู่หรือเบอร์โทรของผู้ปกครอง  เพราะพวกไม่หวังดีอาจจะติดต่อแฝงมาในรูปแบบอาชญากร  แสร้งใช้พูดจาหลอกล่อเด็กได้ว่ารู้จักหรือเป็นเพื่อนกับคุณพ่อคุณแม่จริงๆ
 
          และอย่าลืมสอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธการพูดคุยกับคนแปลกหน้า  นอกจากนี้ผู้ใหญ่ต้องคอยจับตาดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดไม่ให้คลาดสายตาเพราะยังมีผู้ไม่หวังดีจำนวนมากแฝงตัวอยู่ในสังคม  และเราก็ไม่อยากให้ลูกของเราตกเป็นเหยื่อ!
 
ที่มาจาก : http://goo.gl/DBbyJC, https://sg.news.yahoo.com/minister-don-t-share-pictures-kids-social-media-085100319.html?soc_src=social-sh&soc_trk=fb
 
ที่มา: 
http://www.amarinbabyandkids.com
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
  • หยุดชีวิตติดโซเชียล
  • สาเหตุที่ไม่ควรให้ลูกติดสื่อออนไลน์ ​​
  • ช็อค! ภาพหลุดอดีตดาราเด็กสไกป์เซ็กซ์กับแฟนสาว
  • "โซเชียลมีเดีย" ต้นตอ "ภาวะซึมเศร้า"
  • IT กับสังคม
  • การโพสต์รูป
  • ภัย
  • ภัยสังคม
  • รูปเด็กน่ารัก
  • อย่าโพสต์รูปลูก
  • อันตราย
  • อินสตาแกรม
  • เผยแพร่
  • เฟสบุ๊ก
  • โซเชียลมีเดีย
  • Login to post comments
  • อ่าน 1095 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
12,318
ไต้หวันหวั่นสังคมก้มหน้า ออกกฎหมายให้ผู้ปกคองดูแลลูกหลานอย่าเล่นโทรศัพท์นานเกิน
29 มกราคม 2558
10,440
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
9,352
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
7,419
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
5,826
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
5,284
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-7000 ต่อ 4275 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)