Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » เด็กติดเกม สังคมก้มหน้า ปัญหาใกล้ที่ตัวพ่อ-แม่
ธ.ค.23

เด็กติดเกม สังคมก้มหน้า ปัญหาใกล้ที่ตัวพ่อ-แม่

เด็กติดเกม สังคมก้มหน้า ปัญหาใกล้ที่ตัวพ่อ-แม่
ฟังคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เผยการดูแล-ใกล้ชิดลูก คือภูมิคุ้มกันชั้นยอด แนะผู้ปกครองอย่าใช้อารมณ์เป็นทางออก ใช้หากิจกรรมอื่นสร้างประโยชน์ ช่วยดึงความสนใจเด็กจากแท็บเล็ต-สมาร์ทโฟน-คอมพ์ ได้…
ความบันเทิงประเภท "เกม" มักจะเป็นเครื่องคลายเครียด คลายเหงา แถมยังเป็นพฤติกรรมเพลินๆ ที่ช่วยฆ่าเวลาว่างให้เราได้ดีเสมอมา แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์หรือปัญหา อาทิ การฉ้อโกง ความรุนแรง ความเสียหาย หรือแม้แต่การล่อลวงขึ้นในสังคม จากเกมที่เคยเป็นศูนย์รวมความบันเทิง กลายเป็นอบายมุขไปทันที
เห็นกันง่ายๆ ใกล้ตัว และปรากฏเป็นข่าวร้อนตามสื่อต่างๆ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากที่สุดข่าวหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นเรื่องราวชวนตะลึง หลังจากผู้เป็นแม่เปิดโอกาสให้ลูกนำสมาร์ทโฟนไปเล่นเกม ทำให้จุดเริ่มต้นความบันเทิงใกล้ตัวอย่างเกมบนมือถือ กลายเป็นหนี้สินไปในชั่วพริบตา
"ปัญหาเกี่ยวกับการเล่นเกมมีให้เราพบเห็นมาก ก็เพราะเทคโนโลยีเข้าใกล้เยาวชนมากขึ้น พ่อแม่จำเป็นต้องดูแลลูกให้ใกล้ชิด เมื่อเกิดปัญหา บางคนบอกว่าจะไม่ให้ลูกเล่นเกมอีกแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเด็กเล็ก แต่กับเด็กวัยรุ่นที่กำลังโตคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะห้ามพวกเขา เพราะปัจจุบันเกมกลายเป็นสังคมหนึ่งของเด็กๆ ไปแล้ว" พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และรองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว
 
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ยังแนะนำด้วยว่า ผู้ปกครองควรเลือกใช้ทางสายกลาง เช่น อนุญาตให้ลูกเล่นเกมได้แต่จะต้องเลือกเกม กำหนดเวลาการเล่น หรือตั้งกติการ่วมกันในการเล่นเกมแต่ละครั้ง หากเล่นเกมเกินเวลาหรือใช้เงินซื้อไอเทมเกมออนไลน์โดยไม่ขออนุญาต อาจต้องมีบทลงโทษห้ามเล่น 3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เพื่อฝึกและควบคุมพฤติกรรมพวกเขาตั้งแต่ตอนยังเป็นเด็ก นอกจากนี้ยังควรต้องหากิจกรรมอื่นให้ทำมากกว่าการเล่นเกม อาทิ ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือเล่นเกมแบบไทยๆ เพราะนอกจากจะทำให้ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าการนั่งกดมือถือ-แท็บเล็ต เพื่อเล่นเกมแล้ว ยังได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมอีกด้วย แต่หากไม่อยากให้เกิดปัญหาเรื่องการเล่นเกมตามมา ผู้ปกครองควรกำหนดกติการ่วมกับบุตรหลานตั้งแต่แรก เนื่องจากการป้องกันนั้นดีกว่าการแก้ไข นอกจากนั้น พ่อแม่ก็ต้องใกล้ชิด ดูแล และพยายามดึงลูกหลานออกมาทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วย
"นอกจากเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแล้ว ควรเป็นเพื่อนให้กับลูกๆ ด้วย นอกจากการสอนให้ลูกรู้จักการคิดและตัดสินใจ ก็ควรสอนให้เขาเท่าทันสังคมด้วย แม้จะเป็นการพูดย้ำๆ ซ้ำๆ ก็จำเป็นต้องทำ แต่การสั่งหรือแนะนำก็ต้องไม่ใช้อารมณ์ พูดบ่อยได้แต่ก็ต้องไม่มากไปไม่น้อยไป นอกจากวัยเด็กจะต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว วัยรุ่นก็เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องดูแลเช่นกัน แต่พฤติกรรมการดูแลอาจจะไม่ต้องใกล้ชิดมากเท่ากับวัยเด็ก ควรจะถอยห่างออกมาให้เขาได้มีอิสระและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ใหญ่จะสอนเด็กก็ควรต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย ไม่ใช่ว่าห้ามลูกเล่นเกมแต่ทุกครั้งที่เจอหน้ากันก็เอาแต่กดมือถือจนไม่เงยหน้ามองคนในครอบครัว"
 
สำหรับพ่อแม่ที่ลูกมีปัญหาติดเกม พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี แนะนำว่า การพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด ควรทำให้ลูกเห็นตัวอย่างและเข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ แต่ผู้ปกครองต้องให้การสนับสนุนเต็มที่และให้กำลังใจบุตรหลาน และควรหากิจกรรมอื่นที่พวกเขาสนใจมาทดแทน หรือจะชักชวนให้ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ก็เป็นเรื่องที่ดี
ส่วน พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์ เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า "เมื่อเกิดปัญหา ไม่ว่าเรื่องใดๆ ก็ไม่ควรโทษเด็ก" และอธิบายว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากทั้งในการเรียน การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตครอบครัว บางบ้านถึงกับหยิบยื่นอุปกรณ์แห่งเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ลูกหลานที่ยังเป็นเด็กเล็กจนเป็นกลายพฤติกรรมคุ้นชิน 
สิ่งที่พ่อแม่ควรเตรียมพร้อมก็คือ 
1. การจ่ายเงินหรือสั่งซื้อสินค้า ซื้อไอเท็มจากระบบซื้อ-ขายออนไลน์นั้น พ่อแม่ต้องเป็นผู้ที่รู้รหัสพาสเวิร์ดโดยห้ามบอกลูกเด็ดขาด เพื่อทำให้ลูกต้องมาขออนุญาตพ่อแม่ทุกครั้งที่ต้องการซื้อ 
2. พ่อแม่จำเป็นต้องเท่าทันเทคโนโลยี อย่าบอกว่าไม่รู้จักเพราะถ้าไม่พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ก็จะไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของเด็กๆ สมัยใหม่ได้ หากไม่รู้ก็ต้องค้นคว้าหาความรู้หรือสอบถามจากผู้รู้
 
นอกจากนี้ พญ.สินดี ยังอธิบายเกี่ยวกับปัญหาพัฒนาการของเด็กว่า ผลกระทบจากการติดเกมอาจกระทบต่อระบบร่างกายและการเติบโตของเด็ก อาทิ เรื่องสมาธิ ที่อาจกระตุ้นให้กลายเป็นคนสมาธิสั้น เช่น เร่งรีบ ใจร้อน ไม่สามารถรอคอยเรื่องต่างๆ ได้ เรื่องของสายตาที่อาจมีผลต่อสุขภาพตา จากการจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานาน ปวดหัวเนื่องจากการจ้องมองใช้สายตามากหรือเครียดกับเกม และหากเล่นเกมโดยใช้เวลานานทำให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน
ขณะที่ นางสาวบวรรัก แซ่ฉิน หนึ่งในกองบรรณาธิการ นิตยสารคอมพ์เกมเมอร์ นิวส์ แสดงความเห็นว่า หากเป็นกลุ่มผู้เล่นเกมก็จะรู้ดีว่าควรใช้จ่ายเงินกับเกมอย่างไร หากเป็นเรื่องอุปกรณ์ก็จะมีแหล่งซื้อที่ราคาเหมาะสม ส่วนการใช้จ่ายเพื่อซื้อไอเท็มนั้น ก่อนจะมีการซื้อก็จะมีการแจ้งข้อบังคับการใช้งานให้ผู้ซื้อทราบ ควรอ่านและทำความเข้าใจโดยละเอียด เพราะเกมนั้นมีมานานแล้ว ในมุมของพ่อแม่ ผู้ปกครองก็ควรทำความเข้าใจ ดูแล และคอยแนะนำลูกด้วยความใกล้ชิด
ถ้าไม่อยากต้องแก้ปัญหา เห็นทีพ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องวางแผนให้ดี จะใกล้ชิด ดูแลบุตรหลานได้อย่างไร ในยุคที่เทคโนโลยีวิ่งนำหน้าเราอยู่เสมอเช่นนี้...!
ที่มา: 
ไทยรัฐออนไลน์
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • เช็กด่วน ! 6 สัญญาณที่บอกว่าคุณติดสมาร์ทโฟนเข้าขั้นวิกฤต
  • การติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนไทย
  • เคล็ดลับ ป้องกันลูกเสพติดเทคโนโลยี
  • วธ.เผยเด็กไทยติดมือถือ แชมป์เอเชีย
  • แคมป์บำบัดอาการติดเน็ต ติดเกม
  • IT กับสังคม
  • ปัญหาติดเกม
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเล่นเกม
  • วัยรุ่น
  • วิธีดูแลลูกติดเกม
  • สมาร์ทโฟน
  • สังคมก้มหน้า
  • เด็กกับเกม
  • เทคโนโลยี
  • เยาวชน
  • แท็บเล็ต
  • ไอที
  • Login to post comments
  • อ่าน 1276 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
12,226
ไต้หวันหวั่นสังคมก้มหน้า ออกกฎหมายให้ผู้ปกคองดูแลลูกหลานอย่าเล่นโทรศัพท์นานเกิน
29 มกราคม 2558
10,437
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
9,318
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
7,388
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
5,807
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
5,238
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-7000 ต่อ 4275 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)