ภัยจากFacebook
ถ้าหากพูดถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน "Facebook" ถือว่าเป็นเครือข่ายสังคมบนโลกเสมือนจริงที่มีคนนิยมใช้มากเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวการ การอัพเดทสถานะปัจจุบัน และการบอกเล่าเรื่องราวของเราให้เพื่อนสนิทที่อยู่บนเครือข่ายดังกล่าวได้รับรู้ ถือว่าเป็นเครือข่ายสังคมบนโลกเสมือนจริงที่มีคนนิยมใช้มากเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวการ การอัพเดทสถานะปัจจุบัน และการบอกเล่าเรื่องราวของเราให้เพื่อนสนิทที่อยู่บนเครือข่ายดังกล่าวได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดตรูป ข้อความ และลิงค์ต่างๆ เราก็สามารถทำได้ภายในเวลาอันจำกัด คุณสมบัตินี้สามารถตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
แต่ภายใต้ความสะดวกสบายในการสื่อสารนี้ น้องๆ ทราบรึเปล่าคะว่าบางครั้งการสื่อสารภายใต้โลกเสมือนจริงบนเครือข่ายออนไลน์อาจจะมีอันตรายซ่อนอยู่ก็ได้ ... โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เว็บไซต์ DNA ได้นำเสนอ ข้อเตือนใจจากโจน กู๊ดไชลด์ (Joan Godchild บรรณาธิการอาวุโสของ CSO (Chief Security Officer) ออนไลน์ เกี่ยวกับอันตรายที่แฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมของผู้ใช้ Facebook ว่า
1. ข้อมูลที่อยู่ใน Facebook ของเราอาจกำลังถูกแบ่งปันไปยังบุคคลที่ 3 ได้ ... เนื่องจากหากเราไม่ได้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเอาไว้ ข้อมูลเช่น บันทึกข้อความ รูปภาพ หรือลิงค์ต่างๆ อาจถูกแบ่งปันไปยังบุคคลแปลกหน้าได้
2. การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวจะคืนกลับสู่โหมดปกติซึ่งมีความปลอดภัยน้อยหลังจากมีการปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ทุกครั้ง ... เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้ Facebook หลายคนยังไม่ทราบ ดังนั้นเพื่อป้องกันบุคคลไม่พึงประสงค์เข้ามาดูข้อมูลใน Facebookของเรา เราควรเช็คระบบการตั้งค่าความปลอดภัยทุกครั้งที่มีการปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่
3. อาจจะมีมัลแวร์ซ่อนอยู่ ... มัลแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยมีเจตนามุ่งร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโดยนักพัฒนามัลแวร์อาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ และช่องทางการสื่อสารต่างๆ มาพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเป็นส่วนตัวได้ โดยผู้ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปทำสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือก่อความเดือดร้อนได้
4. เพื่อนของเราอาจไม่รู้ว่ากำลังทำให้เราไม่ปลอดภัย ... เนื่องจากเพื่อนในเครือข่ายอาจมีการแบ่งปันข้อมูลของเราไปไว้ที่เครือข่ายของตัวเองซึ่งเป็นข้อมูลที่เราอาจจะไม่อยากเผยแพร่ให้ผู้ที่ไม่รู้จักได้เห็น
5. ผู้ไม่หวังดีอาจกำลังสร้างประวัติอันเป็นเท็จ ... เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมักจะถูกขโมยประวัติ รูปภาพ เพื่อไปใช้แอบอ้างในการสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง หรือแอบอ้างเพื่อหวังผลประโยชน์ต่างๆ
... เทคโนโลยีก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่ให้ทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ได้ในเวลาเดียวกัน พี่เหมี่ยวว่าทางที่ดีที่สุดคือ เราจะต้องรู้เท่าทัน รู้จักใช้วิจารณญาณและรู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการใช้เทคโนโลยีชนิดต่างๆ เพื่อที่เราจะได้รู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ และไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วยนะคะ
"ผลเสียจากการเล่นเฟสบุ๊กมากเกินไป"
1. หลงใหลตัวเองมากขึ้น ... คนมักโพสต์รูปถ่ายกับรถใหม่ บ้านใหม่ ของเล่นชิ้นใหม่ บ้านใหม่ งานใหม่ สถานที่เที่ยวใหม่ๆ กระทั่งอาหารที่กำลังจะทานพวกเขาก็ไม่วายที่จะถ่ายรูปเพื่อเอามาอวดเพื่อนๆ หรืออวดว่ามีจำนวนคนมาขอเป็นเพื่อนมากมาย คนมากดชอบ แสดงความคิดเห็น ก็กลายเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาหลงตัวเองมากขึ้นไปอีก
2. ขี้อิจฉามากขึ้น ... เมื่อมีคนโพสต์เรื่องตนเอง หน้าตาดี ชีวิตดี ฐานะดี ดูดี ดูเท่ คนอีกจำนวนหนึ่งที่รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่ดีแบบนั้น จึงกลายเป็นคนที่ขี้อิจฉามากขึ้น เพราะในโลกจริง ผู้คนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นคนจน ชนชั้นกลาง หลายๆ คนไม่ได้เป็นคนเก่ง ได้รับสถานะทางสังคมเฉกเช่นดารา คนดัง หรือบุคคลสาธารณะ เพื่อคนธรรมดาเหล่านั้นเข้ามาใช้เฟซบุ๊ก เขาก็เพียงแค่อยากจะรู้สึกเป็นคนเด่น คนดัง คนสำคัญบ้าง จึงต้องสร้างภาพตนเองให้ดูดีในพื้นที่สาธารณะสักเล็กน้อย เพื่อหลอกตัวเองหรือผู้อื่น
3. มองโลกในแง่ร้าย ... เฟซบุ๊คเป็นที่ที่คนชอบโพสต์เรื่องส่วนตัวดีๆ ขณะที่เรื่องส่วนรวมของสังคมมักเป็นเรื่องร้ายๆ ดังนั้นคนที่เสพข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก จึงมักเห็นเรื่องปัญหาสังคมต่างๆ ถูกหยิบขยายความ ตีความ ส่งต่อแพร่หลายกระจายวงกว้าง พวกเขาจึงรู้สึกว่า “โลกช่างโหดร้าย” และมีลักษณะไม่ไว้วางใจผู้คนเรื่องต่างๆ มากขึ้น
4. ชอบสอดส่องสอดรู้ชีวิตคนอื่นๆ ... การสอดส่อง ติดตาม (stalker) หรือการเข้าไปก้าวล่วงชีวิตของผู้อื่น นั่นแสดงว่าคุณมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก เพราะคุณเริ่มแยกไม่ออกระหว่าง พื้นที่สาธารณะ และความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น และนั่นอาจทำให้คุณรู้สึก “ย่ามใจและมีอำนาจเหนือชีวิตของผู้อื่น” และก้าวไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ในโลกจริงกับเขาที่คุณชื่นชอบ
5. เปิดเผยตัวเองมากขึ้น - กันเองมากขึ้น ... ผู้คนในเฟซบุ๊กใช้ถ้อยคำภาษาที่กันเองมากขึ้น พวกเขาไม่รู้สึกแปลกที่จะบอกเล่าเรื่องราวความคิดความรู้สึกของตนเองกับคนแปลกหน้า และนั่นนำมาสู่ การเปิดรับ รู้จักคนแปลกหน้ามากขึ้น และกับดักของอาชญากรในเฟซบุ๊กที่พวกเขามักใช้ คือ ถ้อยคำที่สุภาพ ท่าทางที่ดูคบได้ ไว้ใจได้ และการสร้างความไว้วางใจที่มาจากบทสนทนาที่ดูเป็นกันเอง
6. จมทุกข์แบกโลกซึมเศร้า ... มีหลายคนที่ไม่มีความสุขในชีวิตจริง พวกเขาจึงแบกโลกที่พวกเขาอยู่มาสถิตไว้ในเฟซบุ๊ก กลายเป็นแหล่งระบายอารมณ์ จมทุกข์ โศกเศร้ามากขึ้น การระบายอารมณ์ หรือแสดงความรู้สึกผิดหวังเสียใจนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่คุณอาจพบว่ามีเพื่อนบางคนมักจะอยู่ในอารมณ์เศร้าตลอดเวลา นั่นแสดงว่าเขาไม่สามารถหลุดพ้นก้าวข้ามสภาวะนั้นได้ และจะกลายเป็นคนที่มีภาวะซึมเศร้าแบบออนไลน์ตลอดเวลา และคนอื่นๆ ก็จะพากันเบื่อหน่ายหรือรังเกียจพวกเขา แทนที่จะเข้าใจและช่วยรักษาพวกเขา
7. หลงใหลยึดติดแบบอย่างชีวิตของผู้อื่น ... คนที่หลงใหลในชีวิตผู้อื่นจะสูญเสียความภูมิใจในตนเองมากไปกว่านั้น คือเฝ้ารอเฝ้าคอยที่จะติดต่อติดตามสื่อสารกับผู้อื่น เขาจะไม่สนใจชีวิตของตนเองอีกต่อไป ร้ายกว่านั้นคือ เขาอนุญาตให้ชีวิตคนอื่นเข้ามาควบคุมบงการชีวิตของเขาเอง ร้ายที่สุด คือ สับสนในโลกจริง โลกเสมือน และไปใช้ชีวิตของตนเองในชีวิตเฟซบุ๊คของคนอื่น!
เฟซบุ๊กนั้น มิใช่เชื้อโรคหรือไวรัส แต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่บ่มเพาะ ผลิต และเผยแพร่โรคอันเกิดมาจากผู้คนที่มาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมเสมือนจริง ผู้คนต่างๆ เข้ามาเสพติดมันและเปลี่ยนนิสัยตนเอง หรือย้ำสร้างนิสัยเดิมตนเองให้มีความรุนแรงมากขึ้น
- Login to post comments
- อ่าน 7229 ครั้ง