Skip to main content
HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม logo HealthyGamer : รวมทุกทางออกของปัญหาติดเกม
  • ล็อกอิน
    • ลืมรหัสผ่าน
  • สมัครสมาชิก

Text size

  • Small
  • Normal
  • Big
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
    • ข่าวสาร
    • เรื่องเด่น
    • เลี้ยงลูกถูกวิธี
    • เกร็ดน่ารู้
    • มุมกิจกรรม
    • โพล
  • ดาวน์โหลด
    • งานวิจัย
    • บทความวิชาการ
    • Multimedia
    • E-book
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักเรา
    • ติดต่อเรา
Home » ชวนคิดชวนอ่าน » ข่าว » ลูกพร้อมมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองหรือยัง?
ม.ค.26

ลูกพร้อมมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองหรือยัง?

ลูกพร้อมมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองหรือยัง?
พ่อแม่ที่ค่อนข้างเข้มงวดอาจคิดว่าโทรศัพท์มือถือทำให้ลูกเสียเวลาไปกับเรื่องไร้สาระโดยเปล่าประโยชน์ แต่จริง ๆ แล้ว การที่ลูกของคุณจะใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างเป็นประโยชน์และคุ้มค่ากับที่พ่อแม่ลงทุนให้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่และคำแนะนำจากคุณมากกว่าสิ่งอื่นใด ลองมาดูกันว่าข้อดีในการให้ลูกมีโทรศัพท์มือถือนั้นมีอะไรบ้าง
• ติดต่อพ่อแม่และคนในครอบครัว – แน่นอน! ข้อนี้มักเป็นเหตุผลหลักที่คุณคิดจะซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูกสักเครื่องอยู่แล้ว
• ใช้ในกรณีฉุกเฉิน – สังคมไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เมื่อประเทศเราเข้าสู่ยุควัตถุนิยม ก็จะเห็นอาชญากรรมตามมาเหมือนเงาตามตัว การที่คุณให้โทรศัพท์มือถือและสอนให้ลูกใช้ประโยชน์มือถือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่พ่อแม่ทั้งหลายไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะครอบครัวที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง
• ช่วยบอกตำแหน่งที่ลูกอยู่ – พ่อแม่ที่ hi-tech หน่อยอาจใช้โทรศัพท์มือถือ smartphone ที่มีแอพพลิเคชั่นที่ใช้ดูตำแหน่งของลูกคุณได้ เช่น แอพพลิเคชั่น AT&T Family Map ที่ให้คุณตรวจสอบตำแหน่งของลูกผ่านระบบ GPS ของมือถือได้ คราวนี้คุณก็อุ่นใจเมื่อรู้ว่าลูกของคุณอยู่ในที่ที่เขาควรอยู่
• โทรศัพท์มือถือช่วยให้ลูกมีความรับผิดชอบขึ้นได้ – ข้อนี้ต้องอ้างอิงสิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า การที่ลูกของคุณจะใช้โทรศัพท์มือถือไปในทิศทางใดนั้น ขึ้นอยู่กับการแนะนำของคุณ ดังนั้น เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด คุณควรอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์ คุณอาจตั้งกฎการใช้โทรศัพท์มือถือของลูก เช่น จำกัดจำนวนเงินที่เติมเข้าในระบบ สอนให้เขามีความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินที่พ่อแม่ซื้อหาให้ เป็นต้น เท่านี้ ก็จะทำให้ลูกคุณซึ้งใจกับสิ่งที่พ่อแม่หยิบยื่นให้และจะช่วยพัฒนาให้เขามีความรับผิดชอบมากขึ้นได้
• ใช้โทรศัพท์มือถือพัฒนาการเรียนรู้ – ในยุคที่เทคโนโลยีไปเร็วกว่าจรวด ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารง่ายยิ่งกว่าสิ่งใด พ่อแม่ที่กังวลว่าลูกจะใช้โทรศัพท์มือมือไปในทางที่ผิด การห้ามปรามจะไม่ช่วยอะไรมากนัก แต่หากคุณเอาใจใส่โดยการแนะนำแอพพลิเคชั่น ที่ช่วยในการเรียนรู้ของลูก หากมีเวลาว่าง คุณอาจร่วมเล่นเกมส์ที่ช่วยพัฒนาสมองสำหรับเด็กเล็กถึงเด็กโต ก็จะช่วยให้เขาใช้โทรศัพท์มือถือไปในทางที่ถูกต้องได้ ส่วนเด็กวัยรุ่น คุณอาจหาแอพพลิเคชั่นที่มีแบบทดสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเรียน เช่น แอพพลิเคชั่นจากค่าย Quipper ที่มีแบบทดสอบวิชาเรียนมากมาย คุณอาจร่วมทำแบบทดสอบร่วมไปกับเขาเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกได้ด้วย
สำหรับการพิจารณาว่าเมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกคุณมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเองนั้น อันนี้ คุณเองจะรู้ดีกว่าใครว่าลูกคุณพร้อมหรือไม่ พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าลูกในวัย 8-10 ขวบโตพอจะมีโทรศัพท์มือถือสักเครื่องแล้ว ในวัยนี้ คุณอาจเริ่มด้วยมือถือที่มีไว้เฉพาะการโทรเข้า-ออก และดูพฤติกรรมของเขาว่ามีความรับผิดชอบมากขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญ คุณควรเตือนลูกในการใช้โทรศัพท์ว่าไม่ควรใช้ในสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ไม่คุยโทรศัพท์ขณะข้ามถนน ในขณะที่ฝนตก หรืออยู่ในที่เปลี่ยว เป็นต้น เท่านี้ คุณก็อุ่นใจได้แล้วว่าลูกของคุณจะปลอดภัยและมีวินัยในตนเองมากขึ้น
 
ที่มา: 
เขียนโดย theAsianparent Editorial Team
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • วธ.เผยเด็กไทยติดมือถือ แชมป์เอเชีย
  • เช็กด่วน ! 6 สัญญาณที่บอกว่าคุณติดสมาร์ทโฟนเข้าขั้นวิกฤต
  • ความจริงทั้งน้านนน...พบกับ 17 ภาพเสียดสีการติดสมาร์ทโฟนของคนในสมัยนี้ได้อย่างเจ็บแสบ!!!
  • มาเล่น มาเรียนรู้ โดยมีธรรมชาติเป็นครู...^^
  • เชิญเที่ยวงาน "สถานีรอยยิ้ม ลานเล่น เรียนรู้ กาฬสินธุ์นี้ดีจัง"
  • IT กับสังคม
  • hi-tech
  • Quipper
  • smartphone
  • คอมพิวเตอร์
  • พ่อแม่
  • ออนไลน์
  • เด็ก
  • เด็กติดเกม
  • แอพพลิเคชั่น
  • โทรศัพท์มือถือ
  • ไอที
  • Login to post comments
  • อ่าน 3909 ครั้ง
  • ข่าวสาร
  • เรื่องเด่น
  • เลี้ยงลูกถูกวิธี
  • เกร็ดน่ารู้
  • มุมกิจกรรม
  • โพล

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

ทำความรู้จักเด็กยุค Generation Alpha
2 เมษายน 2558
36,237
สาเหตุการติดเกม
5 กรกฎาคม 2556
17,895
"สังคมก้มหน้า" ต้นเหตุและทางออก
27 กรกฎาคม 2558
17,750
ภัยร้ายจากอินเทอร์เน็ต
17 กุมภาพันธ์ 2557
16,733
ปัญหาเด็กติดเกม...ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัวอย่างไรกัน ?
5 สิงหาคม 2556
13,476
เกมเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
31 มีนาคม 2555
12,640
  • หน้าแรก
  • ติดเกมคืออะไร
  • แบบทดสอบ
  • ชวนคิดชวนอ่าน
  • ดาวน์โหลด
  • เว็บบอร์ด
  • เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-4080 / โทรสาร 0-2411-3843

ลิขสิทธิ์

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

Powered by Drupal. Developed by Opendream.
Site design © 2011 Opendream, All rights reserved.

ติดตามความเคลื่อนไหว

  • RSS Feed
  • Twitter
  • Facebook
  • กระทรวงวัฒนธรรม
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)